วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศัพท์สังคีตทางดนตรี

        ศัพท์สังคีตทางดนตรี

        เพลง คือทำนองที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีสัดส่วน มีจังหวะ วรรคตอนและสัมผัสถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของดุริยางค์ศิลป์ โดยใช้ถ้อยคำ เสียง สระ อักษรวรรณยุกต์ ตามกฎแห่งฉันทาลักษณ์
ทำนอง คือ เสียงสูง เสียงต่ำ สลับกัน จะมีความสั้นยาว เบาแรงอย่างไรก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่ง
ร้อง คือการเปล่งเสียงออกไปให้เป็นทำนอง จะมีถ้อยคำหรือไม่มีก็ได้หรือมีแต่สระอะไรก็ได้ แต่ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ ถ้อยคำต้องน้อมเข้าทำนอง
จังหวะ หมายถึงการแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ ทุกส่วนที่แบ่งนี้คือ จังหวะ จังหวะที่ใช้ในการดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
   1. จังหวะสามัญ จังหวะทั่วไปที่จะต้องยึดถือเป็นหลักสำคัญของการขับร้องและบรรเลง แม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะก็ต้องมีความรู้สึกในใจตลอดเวลา
   2 .จังหวะฉิ่ง เป็นการแบ่งจังหวะด้วยเสียงที่ตีฉิ่ง เพื่อให้รู้จังหวะเบา หรือ หนัก จังหวะฉิ่งเป็นจังหวะเบา จังหวะฉับเป็นจังหวะหนัก ส่วนจะตีถี่ห่างอย่างไรอยู่ที่ลักษณะเพลง
   3. จังหวะหน้าทับ คือการถือหน้าทับเป็นเกณฑ์นับจังหวะ เมื่อหน้าทับตีจบไปเที่ยวหนึ่งก็นับเป็น 1 จังหวะ ตีจบสองเที่ยวเป็น 2 จังหวะ
ท่อน คือการกำหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง ซึ่งแบ่งจากเพลง ปกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบท่อนหนึ่งๆแล้ว มักจะกลับต้นบรรเลงซ้ำท่อนนั้นอีกโดยจะเขียนว่า ซ้ำ , กลับต้น , กต. หรือใช้เครื่องหมาย //---- //
เถา คือเพลงเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไป ตั้งแต่อัตราสามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว ( จะไม่เรียก1ชั้น )
ตับ หมายถึงเพลงหลายเพลงนำมาร้องและบรรเลงในอัตราเดียวกัน ติดต่อกันไป ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 ชนิด
   1. ตับเรื่อง เพลงที่นำมาร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น มีบทร้องเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตราคนละประเภท ถือว่าไม่สำคัญ
   2. ตับเพลง คือเพลงที่นำมาร้องและบรรเลงติดต่อกัน เป็นทำนองเพลงที่มีอัตราเดียวกัน เช่น 2 ชั้น 3 ชั้นส่วนบทร้องจะมีเนื้อร้องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ไม่สำคัญ
ทอด 1. การผ่อนจังหวะให้ช้าลง ก่อนที่จะจบเพลงหรือจบท่อน เพื่อให้คนร้อง
   2. เพื่อจะหยุดให้มีการเจรจา การร้องนี้ต้องมีการเอื้อนเล็กน้อย

หน้าทับ การนับจังหวะด้วยการตีกลอง เพลงกลองเราเรียกว่า หน้าทับ เช่น เพลงลาว เพลงเขมร เพลงแขก จะเรียกว่า หน้าทับลาว หน้าทับเขมร หน้าทับแขก
ทาง มีความหมาย แยกเป็น 3 ประเภท
   1. หมายถึง การดำเนินทำนองโดยเฉพาะเครื่องดนตรี เช่น ทางระนาด ทางฆ้อง ทางซอ
   2. หมายถึง การดำเนินทำนองเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่นทางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ทางของ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นต้น
   3. หมายถึง ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง ซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่รู้จักของนักดนตรีทุกคน
เพี้ยน คือที่ไม่ตรงกับระดับที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง เสียงบรรเลงดนตรีชนิดใดก็ตาม ถ้าเสียงผิดจากระดับเสียงที่ถูกที่ควร สูงไป ต่ำไป เพียงเล็กน้อย ก็เรียกว่าเสียงเพี้ยน
หน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาอาการของมนุษย์ สัตว์วัตถุหรือธรรมชาติ ทั้งกิริยาที่มีตัวตนหรือสมมุติ ตลอดกิริยาที่เป็นปัจจุบันหรืออดีต
ไหว หมายถึงการบรรเลงให้เสียงดนตรีหลายๆ เสียงที่ติดต่อกันเป็นระยะถี่และจังหวะเร็ว หากทำได้ถี่และเร็วมากก็เรียกว่าไหว
เอื้อน ใช้ในการขับร้อง หมายถึงการขับร้องที่มีทำนองโดยใช้เสียง ไม่มีถ้อยคำ สำหรับบรรจุทำนองเพลงให้ถูกต้องครบถ้วนในเมื่อบทร้องไม่พอกับทำนองเพลง และเพื่อตกแต่งให้ถ้อยคำชัดเจนยิ่งขึ้น
สะบัด หมายถึง การดำเนินทำนองที่มี 3 พยางค์ ติดต่อกัน มีระยะเวลาเท่ากับพยางค์เดียว
เขย่า เป็นวิธีบรรเลงอังกะลุงด้วยการเขย่าแทนการตี ลักษณะอาการเขย่านี้จะผลักอังกะลุงไปข้างหน้าประมาณ 3-5 นิ้ว และดึงกลับไปกลับมาในระยะเดียวกัน ปฏิบัติอย่างนี้เร็ว ๆ ยิ่งเร็วเท่าไรเสียงยิ่งละเอียดและดัง แรงขึ้น
กรอ หมายถึงวิธีบรรเลงดนตรีประเภทตี เป็นคู่แปดหรือคู่สี่ มือซ้ายและมือขวาบรรเลงสลับกันถี่ ๆหากเป็นอังกะลุง การกรอจะมีลักษะเช่นเดียวกับการเขย่า
ลัก หรือลักจังหวะ หมายถึงการร้องหรือบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ซึ่งดำเนินไปโดยไม่ตรงกับจังหวะเป็นการกระทำโดยเจตนา เพื่อให้เกิดความไพเราะ หรือเร้าอารมณ์ไปอีกทางหนึ่ง
ลูกล้อ เป็นการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหน้า ( บรรเลงก่อน ) พวกหลัง ( บรรเลงทีหลัง ) 2พวกนี้บรรเลงผลัดกันคนละที ล้อ หมายถึง พวกหน้าบรรเลงอย่างใด พวกหลังบรรเลงอย่างนั้น
ลูกขัด เป็นการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหน้าบรรเลงอย่างหนึ่ง พวกหลังบรรเลงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งทำนองไม่เหมือนกับพวกหน้า
ลูกบท ได้แก่เพลงเล็ก ๆ ที่นำมาบรรเลงต่อจากเพลงใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงแม่บท เพลงเล็ก ๆ เรียกว่า ลูกบท
ลูกหมด เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง เป็นเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าจบเพลง
ส่ง แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
   1. เป็นการบรรเลงนำทางให้คนร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้อง หรือเรียกว่า ส่งหางเสียง
   2. เป็นการร้องที่มีดนตรีรับ เรียกว่า ส่ง เหมือนกัน แต่เราเรียกว่าร้องส่ง
สวม การบรรเลงดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือเครื่องดนตรีทั้งหมด บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายก่อนของผู้อื่น
สอด เป็นการบรรเลงเพลงชนิดหนึ่งที่แทรกเข้ามาในระหว่างมีการร้องหรือเครื่องดนตรีอย่างอื่นหยุด
สำเนียง หมายถึงกระแสของทำนองเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้น กระทำให้เกิดความรู้สึกและทราบไดว่าเป็นเพลงจำพวกใด ชนิดใด และภาษาใด
ขับร้อง การเปล่งเสียงที่มีลำนำ ทำนอง โดยอาศัยบทกวี เป็นบทเปล่งเสียงซึ่งเป็นศิลปะที่ประณีตขึ้นกว่าคำพูดธรรมดา แยกเป็น 2 ประเภท คือการขับ การร้อง

ความหมายของโมด (Mode)

        โมด (Mode) ออกเสียงว่า "โหมด" คือบันไดเสียงของกรีกสมัยโบราณ โมดถูกนำมาใช้อีกครั้งในยุคกลาง ในสมัยของ เซนต์แอมโบรส(St.Ambrose. 340-397) บิชอปแห่งเมืองมิลาน และในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา  เสียงดนตรีในแต่ละโมดจะอยู่บนคีย์เปียโนสีขาวล้วนๆ   เช่น ไอโอเนียน โมด (Ionian mode) เหมือนกับบันไดเสียง C major เสียงอยู่บนคีย์สีขาวจากโน้ต C-C   โมดอื่น ๆ ที่เหลืออีก 6 โมดก็ใช้ระดับเสียงบนคีย์สีขาวเหมือนกัน แต่ใช้โน้ตเริ่มต้นคนละตัวโน้ต แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ดอเรียน โมด (Dorain mode) ใช้คีย์สีขาวเริ่มจากโน้ต D ถึง D เป็นต้น

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 - ปลายศตวรรษที่ 19 โมดถูกนำมาใช้น้อยลง บันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์ถูกนำมาใช้แทนที่โมดเป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายร้อยปี ในปัจจุบันได้มีการนำโมดมาใช้ใหม่อีกครั้งในบางบทเพลง ซึ่งเป็นทฤษฎีของพิธากอรัส ดังนี้

ระบบเสียงของพิธากอรัส (Pythagorian Scale)

         การเกิดขึ้นของบันไดเสียง ทำให้โลกของดนตรีได้มีวิวัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น บันไดเสียงก่อให้เกิดความแตกต่างของดนตรีชนชาติต่าง ๆ เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิก (Pentatonic Scale) นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ส่วนในภูมิภาคของโลกดนตรีตะวันตกนั้นได้รับอิทธิพลของบันไดเสียงโดยตรงจากก รีกโบราณ ซึ่งนักปราชญ์ พิธากอรัส (Pythagorus) ได้คิดค้นขึ้นประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยบันไดเสียงโบราณนี้เรียกว่า Mode และนิยมใช้ในการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรีในสมัยนั้น อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้กล่าวไว้ว่า จากการค้นพบอัตราส่วนความถี่ของเสียงในอนุกรมฮาร์โมนิคบนสายที่ขึงตึงของพิ ธากอรัสตั้งแต่สมัยกรีก ทำให้นำไปสู่การเอาความถี่ของเสียงและระยะขั้นคู่ที่เกิดขึ้นจากเสียง ธรรมชาติเหล่านั้นไปสร้างเป็นบันไดเสียงในเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเป็น ธรรมชาติที่สุด เริ่มตั้งแต่การตั้งเสียงให้กับเครื่องดนตรีกรีกโบราณที่เรียกว่า เต็ททร้าคอร์ด (Tetrachord) แล้วพัฒนาไปสู่เครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคต่อ ๆ มา การเปลี่ยนแปลงของการตั้งบันไดเสียงที่สำคัญช่วงแรกในประวัติศาสตร์ ของมนุษยชาติเกิดขึ้นในยุคกลาง (Medieval Period) ที่ทวีปยุโรป เมื่อดนตรีที่บรรเลงและขับร้องกันอยู่ในวัดคริสต์ศาสนา ได้มีการเริ่มใช้แนวทำนอง 2 แนวเพื่อการประสานเสียง ต้องใช้ระดับเสียงที่ต่างกันคู่ 5 Perfect ขับร้องหรือบรรเลงขนานแนวกันไป ในการปฏิบัติลักษณะนี้เรียกว่า ออร์แกนนุม (Organum) และเริ่มเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงแนวเดียว (Monophonic Music) ในเวลานั้น ตามข้อความข้างต้น ทำให้ทราบว่ามนุษย์ได้พัฒนาระบบเสียงดนตรี จากเสียงดนตรีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการทดลองของพิธากอรัสในการขึงสายเปล่าบนกล่องเสียง และเกิดเสียงจากอนุกรมฮาร์โมนิกอันประกอบด้วย เสียงพื้นต้น (Fundamental) และเสียงจากฮาร์โมนิกลำดับต่าง ๆ ซึ่งเกิดตามหลังเสียงพื้นต้น เสียงต่าง ๆ เหล่านี้เราเรียกว่า อนุกรมฮาร์โมนิก (Harmonic Serie) พิธอการัสใช้เครื่องมืออะไรในการคิดค้นระบบเสียง พิชัย วาสนาส่ง (2547: 18-21) กล่าวว่า พิธอกอรัส นักปราชญ์ชาวกรีกสมัย 600 ปีก่อนคริสตกาลได้รับการศึกษาจากวัด กล่าวว่า เลข 7 เป็นเลขสำคัญ และมีความหมายมากสำหรับคนโบราณสองชาติ คือ เมโสโปเตเมียและอียิปต์ จึงน่าเชื่อว่าการรู้จักแบ่งระดับเสียงเป็น 7 ระดับแล้วจึงกลับไปซ้ำเสียงเดิมที่สูงขึ้น หรือต่ำลงที่ระดับ 8 คำว่า คู่แปด (Octave) จึงเกิดขึ้น พิธากอรัสสอนให้เข้าใจผลของการแบ่งเสียงที่เกิดขึ้นจากสายที่ขึงตึงระหว่าง สองจุด (Monochord) ข้อความที่กล่าวมานี้ ทำให้ทราบว่า ความเชื่อเดิมก่อนที่พิธากอรัสจะคิดค้นเรื่องการแบ่งเสียงก็มีความเชื่อ เรื่องเลขสำคัญ ตัวเลขนี้ถ้าพิจารณาจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น เลข 7 คือ จำนวนวันในหนึ่งสัปดาห์ แต่ในทางดนตรีคิดถึงเรื่องของบันไดเสียง เลข 12 เกี่ยวข้องกับจำนวนเดือนใน 1 ปี ในทางดนตรีเกี่ยวข้องกับจำนวน คีย์ในระบบโทนอล 12 เมเจอร์คีย์ และ 12 ไมเนอร์คีย์ ซึ่งความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นความจงใจสร้างให้เกิดขึ้น เพราะสถาปัตยกรรมในยุคกรีกก็ได้รับวิธีการคำนวณการตั้งระยะเสา ความสูง- ความกว้างจ! ากทฤษฎีดนตรีด้วย ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (2545 : 60) กล่าวถึง โมโนคอร์ดว่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายเดียว ซึ่งใช้แสดงสัดส่วนความยาวของสายที่สัมพันธ์กับระดับเสียง เป็นชื่อทฤษฎีของพิธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอดคล้องกับพจนานุกรมฮาร์เปอร์ (Christine: 205) อธิบายลักษณะและหน้าที่ของเครื่อง Monochord ไว้ว่า เป็นเครื่องมือสมัยกรีกโบราณที่ทำจากสายเส้นเดียว อาจทำจากเอ็นสัตว์หรือสายเหล็ก แล้วนำสายนี้ไปขึงให้ตึงบนกล่องไม้ช่วยขยายเสียง (woonden soundbox) มีหย่องอันเล็ก ๆ ที่สามารถเลื่อนไปมาได้ เพื่อไว้เป็นตัวกำหนดระยะทางเช่น ครึ่งสาย, หนึ่งในสี่ ฯลฯ เครื่อง Monochord นี้ได้ถูกประดิษฐ์มาเป็นเวลา 2,500 กว่าปีมาแล้ว จุดประสงค์เพื่อทดลองสาธิตปรากฏการณ์ทางเสียงดนตรีโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของขั้นคู่เสียง และความสัมพันธ์ในทางดนตรีต่าง ๆ ในยุคกลาง (Middle Ages) ได้มีการเพิ่มหน้าที่ให้กับเครื่องนี้ โดยใส่สายเข้าไปหลาย ๆ สาย เพื่อให้เกิดระดับเสียงซึ่งสามารถบรรเลงร่วมกับการร้องได้ และมีประดิษฐ์แป้นคีย์บอร์ดให้ดีดสายพวกนี้ได้ จนวิวัฒนาการกลายเป็นเครื่องคลาวิคอร์ด (Cla! vichord) ตามลำดับ Percy A. scholes (อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล, 2541:10) ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแรก โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ เมื่อแบ่งครึ่งเส้นลวดระดับเสียงจะสูงขึ้นกว่าเดิม 1 ชุดระดับเสียง (Octave) ถือว่าเป็นความสำคัญระดับแรก เมื่อแบ่งเส้นเส้นลวดเป็น 3 ส่วนแล้ว 2 ใน 3 ส่วนของเส้นลวดจะมีระดับเสียงสูงขึ้นเป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็ค ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความสำคัญระดับรองลงมา และหากว่าแบ่งเส้นลวดออกเป็น 4 ส่วน 3 ใน 4 ส่วนดังกล่าวจะมีระดับเสียงสูงขึ้นจากพื้นเสียงเดิมเป็นขั้นคู่ 4 เพอร์เฟ็ค กรณีนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 3 จากนั้น Pythagoras ยังนำเสนอไว้ว่าใน 1 ชุดระดับเสียง ประกอบด้วย กลุ่มเสียง 4 ระดับ (Tetrachord) 2 ชุดเชื่อมต่อกัน กลุ่มเสียง 4 ระดับตามแนวคิดของ Pythagoras มี 3 รูปแบบดังที่แสดงต่อไปนี้ 1. semitone – tone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบดอเรียน (Dorian Tetrachord) 2. tone - semitone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบฟรีเจียน (Phrygian Tetrachord) 3. tone – tone – semitone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบลีเดียน (Lydian Tetrachord) ความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เราทราบว่า พิธากอรัส ได้ใช้ระเบียบวิธีคิดอย่างสูงเกี่ยวกับการ แบ่งระบบของเสียงดนตรี และจากการคิด Tetrachord ชนิดหลัก ๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเรียงต่อ Tetrachord เข้าด้วยกัน 2 ชุดจะก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ ซึ่งบันไดเสียงที่ที่คิดขึ้นได้เรียกว่า บันไดเสียงแบบพิธากอรัส (Pythagorian Scale) และเมื่อมีการขยายความรู้ไปใช้ในการขับร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี ก็จะทำให้เกิดความนิยมเฉพาะกลุ่มจนเป็นชื่อเรียกบันไดเสียงขึ้นมาเฉพาะ เช่น บันไดเสียงไอโอเนียน (Ionian) ก็มาจากกลุ่มชนไอโอเนียนที่อยู่แถบริมทะเล บันไดเสียงไอโอเนียนเป็นที่คุ้นกันดีว่าเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) ในยุคปัจจุบันนั่นเอง อย่างไรก็ดีในเรื่องของโหมด (Mode) หรือบันไดเสียงโบราณนี้ได้รับแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรีกของจริงอยู่ แต่เมื่อถึงยุคกลางแล้วชื่อและลักษณะของระบบไม่ตรงกับระบบของกรีกเลย ดังเช่น ดอเรียนโหมดของกรีก คือ โน้ต E- E (เทียบจากคีย์บอร์ดแป้นสีขาวทั้งสิ้น) แต่ดอเรียนโหมดของยุคกลาง คือ โน้ต D- D ซึ่งวิวัฒนาการเหล่านี้เป็นผลมาจากความนิยมในการใช้ทั้งสิ้น ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากหนังสือ The Music of Early Greece โดย Beatric Perham (1937:24) ได! ้แสดงบันไดเสียงกรีกโบราณทั้ง 3 ประเภทดังนี้ Dorian = E D CB, A G FE Phrygian = D CB A G FE D Lydian = CB A G FE D C หมายเหตุ การไล่บันไดเสียงดังกล่าวเป็นตามนิยมของกรีกคือ การไล่ลง (Descending Scale) และโน้ตที่ชิดกันคือระยะครึ่งเสียง (semitone) โน้ตที่ห่างกัน คือ ระยะเต็มเสียง (tone) ทำไมปัจจุบันนี้จึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสได้ ตามความรู้ที่เราทราบว่าพิธากอรัสได้คิดเรื่องระบบเสียงจนสามารถสร้างเป็น บันไดเสียงสำเร็จขึ้นมา และศิลปินตลอดจนชนชาติต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากการสร้างสรรค์งานดนตรีมากมาย แต่เหตุใดปัจจุบันจึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสในการประพันธ์เพลงหรือ เล่นดนตรีได้ อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้ให้เหตุผลว่า ในการปฏิบัติดนตรีที่ต้องใช้ 2 แนวทำนองต้องใช้ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็คแท้จริง โดยปราศจากบีท (Beat) วิธีการของพิธากอรัสสามารถใช้ได้ เราเรียกว่าระบบไพธากอเรียน (Pythegorean Temperament) ซึ่งเป็นระบบที่มีวิธีคิดในการสร้างบันไดเสียงด้วยการสร้างคู่ 5 เพอร์เฟ็คในอัตราส่วนความถี่ 3/2 ไปเรื่อย ๆ แล้วลดหรือเพิ่ม Octave เข้ามาเป็นระดับในบันไดเสียง ความนิยมใช้ยังคงอยู่กับการประสานเสียงแบบ Organum แต่ด้วยเหตุที่ดนตรีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในยุคเรอเนซองค์ ตอนต้นเมื่อลักษณะดนตรีมีหลายแนวทำนอง ขั้นคู่ 3 เมเจอร์ได้รับความนิยมใช้ในการร้องมากขึ้น บันไดเสียงพิธากอเรียนแม้จะให้คู่ 5 ที่แท้จริง แต่ด้วยการสร้างทบคู่ 5 แล้วดรอพมาเข้าสเกลทำให้ไม่ได้คู่ 3 เมเจอร์ที่แม้จริ! ง ตามอัตราส่วน 5/4 ที่ควรจะได้ และคู่ 3 เมเจอร์จากระบบพิธากอเรียนมีช่วงกว้าง 3 เมเจอร์ธรรมชาติ เป็นคู่ 3 เมเจอร์ที่เพี้ยนออกไป จึงทำให้ไม่เป็นที่พอใจกับนักดนตรีที่ฝึกเรื่องเสียงอย่างดี ปัญหาเสียงเพี้ยนตรงนี้นักดนตรีเรียกว่า Wolf Fifth จากข้อกำจัดนี้จึงทำให้เกิดบันไดเสียงใหม่เพื่อให้ทั้งคู่ 5 เพอร์เฟ็คและคู่ 3 เมเจอร์สามารถรอมชอมกันได้ และตรงเสียงในความถี่ธรรมชาติมากที่สุด เรียกว่าระบบจัส (Just Temperament) ข้อความข้างต้นสรุปว่า แม้ระบบเสียงพิธากอรัสสามารถสร้างจากธรรมชาติของอนุกรมฮาร์โมนิก และเกิดขั้นคู่เพอร์เฟ็คดีที่สุดทั้งคู่ 8 และคู่ 5 แต่เมื่อการนำไปใช้ขยายขอบเขตจากทำนองเดียวสู่การประสานหลายทำนอง แม้ว่าผู้เล่นแต่ละแนวจะยึดการร้องในบันไดเสียงเดียวกัน แต่ผลของการประสานเสียงในบางคู่เสียงไม่เกิดผลดีจึงต้องมีการปรับปรุงระบบ บันไดเสียงใหม่ ซึ่งจะกล่าวขยายความในบทต่อไป หนังสืออ้างอิง พิชัย วาสนาส่ง. (2546). เพลงเพลินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ. นพพร ด่านสกุล. (2541). บันไดเสียงโมดอล.(พิมพ์ครั้งที่ 1) สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ. ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2545). ปทานุกรมดนตรีสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1) เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์. อนรรฆ จรัณยานนท์. (2546). พัฒนาการของระบบบันไดเสียงในดนตรีตะวันตก. วารสารเพลงดนตรี. 9(8) , 28-29. Beatrice Perham. (1937). The Music of Early Greece. Chicago : The Neil A. KJOS MUSIC CO. Christine Ammer. (1972). Harper’s Dictionary of Music. London : Harper & Row Publishers

ความหมายของโมด (Mode)

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างสเกลไมเนอร์

ไมเนอร์สเกล (Minor Scale)

 
โครงสร้างของ Minor Scale
Minor Scale, ไมเนอร์ สเกล
     

สูตรโครงสร้างของ Minor Scale คือลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3 , 6 และ 7 ของเมเจอร์ลงครึ่งเสียง


C Minor Scale, ไมเนอร์ สเกล

TAB ของ C Minor Scale


      ลองฝึกไล่สเกลตามแท็บด้านบนดูนะครับ การฝึกไล่สเกลจะเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการเล่น Solo การแกะเพลง ทำให้เราเล่นได้คล่องขึ้น และยังสามารถทำให้เราจำโน๊ตหรือรูปแบบการไล่สเกลบนคอกีตาร์ได้...

C Minor Scale, ไมเนอร์ สเกล
ตำแหน่งโน๊ตบนคอกีต้าร์ ของ C Minor Scale ตามแท็บด้านบน

12 การฝึกไล่สเกล c major ของกีร์ต้าค่ะ


วิธีไล่สเกลกีตาร์ทำอย่างไร?

1.ใช้นิ้วไล่ตัวโน๊ตให้ถูก: วิธีที่ถูกต้องคือเริ่มจากการกดนิ้วชี้ที่โน๊ตตัวแรกแล้วตามด้วยนิ้วถัดไปตามลำดับ โดยทั่วไปแล้วนักกีตาร์เรียงลำดับนิ้วดังนี้
  • นิ้วที่ 1 = นิ้วชี้
  • นิ้วที่ 2 = นิ้วกลาง
  • นิ้วที่ 3 = นิ้วนาง
  • นิ้วที่ 4 = นิ้วก้อย
ทั้งนี้ในแต่ละสายอาจมีการใช้ Pattern นิ้วที่ต่างกันเช่นหากคุณเล่นเฟรต 5, 7, 9 ในสาย 6 คุณควรใช้ Pattern นิ้ว 1,  2, 4 แต่หากคุณเล่นเฟรต 5, 7, 8 ในสาย 6 คุณควรใช้ Pattern นิ้ว 1,  3, 4 เป็นต้น เพื่อให้เข้ากับหลักสรีระของคุณ
2.รู้จักสเกลต่างๆ (Scale): สเกลที่เป็นที่นิยมในดนตรีสากลมี 2 สเกลคือเมเจอร์สเกล (Major Scale) และ ไมเนอร์สเกล (Minor Scale) โดยคุณอาจเริ่มฝึกตัวอย่าง
3.จำ Pattern เป็นรูปภาพ: ใน Major หรือ Minor Scale ทุกอันล้วนมี Pattern การไล่ที่เรียงตัวเหมือนกัน เพียงแค่เริ่มต้นที่โน๊ตหรือตำแหน่งเฟรตกีตาร์ต่างกันเท่านั้น ดังนั้นคุณควรจำรูปแบบการไล่เป็นรูปภาพ ซึ่งจะทำให้การไล่สเกลของคุณง่ายกว่าการแกะซองขนมซะอีก
4.เรียนรู้สเกลขั้นสูงมากขึ้น: หากคุณเล่นได้เก่งมากพอ คุณควรเริ่มฝึกสเกลขั้นสูงขึ้นเช่น Hamonic Minor, Blue, Jazz Scales ต่างๆเพื่อเพิ่มความหลากหลายในการฝึกของคุณ
5.กาลเวลาจะช่วย: ไม่ต้องตกใจว่าช่วงแรกคุณจะไล่สเกลได้ไม่คล่อง ไม่ว่าคุณจะมีพรสวรรค์หรือไม่ หากฝึกไปเรื่อยๆ (ด้วยวิธีที่ถูกที่มีความเข้าใจ) ย่อมเกิดทักษะขึ้นอย่างแน่นอน

และใครที่อยากรู้คอร์ดกีร์ต้าแบบง่ายๆๆๆ ไม่ต้องอิจฉาตาร้อน เพราะว่าดิฉันได้นำคอร์ดทั้งหมดมารวมไว้ที่นี่แล้ว!!!

เมื่อเรารู้จักกับคอร์ดคีย์บอร์ดง่ายๆกันแล้วก็มารู้จักกับคอร์ดกีร์ต้าแบบง่ายเช่นกันค่ะ















สำหรับใครคนใดที่ยังไม่รู้เลยว่าคอร์ดคีบอร์ดคอร์ดนี้จับยังไง ไม่ต้องกังวลค่ะเพราะว่าดิฉันได้นำคอร์ดทั้งหมดมารวมไว้ที่นี่แล้ว!!!











สอนจับคอร์ดคีย์บอร์ดเบื้องต้น


       มาต่อกันเลยนะค่ะจากที่ได้ดูวีดีโอการไล่นิ้วคีบอร์ดพื้นฐานแล้วนะค่ะก็ลองมาดูการจับคอร์ดแบบง่ายๆกันต่อเลยนะค่ะ
      ซึ่งการจับคอร์ดคีย์บอร์ดนั้นง่ายมากๆเลยหละค่ะ....
1. ต้องรู้จักตัวโน๊ตทุกตัว
2. วางนิ้วให้ถูกต้อง
       เพียงแค่นี้เราก็สามารถจับคอร์ดคีย์บอร์ดได้อย่างง่าย   วันเวลาจะช่วยทุกอย่างเราจะจับคอร์ดคล่องไม่ได้เพียงวันเดียวแต่เราต้องขยังฝึกฝนให้บ่อยๆจนชินมือแค่นี้เองเราก็สามารถเล่นได้แล้ว.............

การไล่นิ้วเปียโนขั้นพื้นฐาน


        เทคนิคนี้ควรใช้หลังจากคุณเริ่มคล่องในการไล่โน๊ตแล้ว การฝึกไล่สเกล หมายถึงการไล่คีย์เป็นชุด 8 เสียง major scale ซึ่งจะช่วยให้คุณได้เข้าใจถึงโน๊ตของแต่ละสเกลได้ดี วิธีการคือเริ่มไล่สเกล C major จาก middle C ไป C1 หรือครบ 1 octave แต่ครั้งนี้คุณจะฝึก หลักการฝึกง่าย ๆ คือ คุณฝีกเรียนเปียโนทีละมือ จากขวาไปซ้าย จากช้าไปเร็ว แล้วค่อย ๆ รวมการเล่นเข้าพร้อม ๆ กัน พยายามเล่นให้ช้าไว้ก่อน หลังจากคล่องแล้วค่อยเริ่มเพิ่มความเร็วทีหลัง เท่านี้คุณก็สามารถเรียนเปียโนในแบบง่าย ๆ ด้วยตนเองได้แล้ว แต่ทั้งนี้ พยายามหาหนังสือเรียนเปียโนมาเสริมความรู้และทักษะด้วย จะทำให้คุณไปได้ไวขึ้น
สุดท้ายหวังว่าบทความชุดนี้ จะช่วยให้คุณได้เข้าใจและสามารถเริ่มเรียนเปียโนด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น เคล็ดลับคือหมั่นฝึกซ้อม และอย่ายอมแพ้ เท่านี้คุณก็พร้อมที่จะไปเรียนรู้ การเล่นเปียโน ในแบบขั้นสูง ๆ ได้แล้ว


เครื่องหมายแปลงเสียง

เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals)

            เครื่องหมายแปลงเสียง เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน้ตหรือหลังกุญแจประจำหลัก เมื่อต้องการแปลงเสียงให้สูงขึ้น ต่ำลง หรือกลับมาเป็นเสียงปกติเหมือนเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงประกอบด้วย 5 ชนิดค่ะ คือ

เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้น ½ เสียง (semitone)

เครื่องหมายแฟล็ท (Flat) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงต่ำหรือลดลง ½ เสียง (semitone)

เครื่อง หมายเนเจอรัล (Natural) หรือไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง ½ เสียง (semitone) ให้กลับมาเป็นเสียงปกติ

เครื่องหมายดับเบิ้ลชา ร์ป (double sharp) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม (tone)

เครื่องหมายดับเบิ้ลแฟล็ท (Double flat) หรือ มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับต่ำลงสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม
1. แฟล็ต (Flat)       เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1/2 ขั้น
2. ชาร์ป (Sharp)     เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1/2 ขั้น
3. ดับเบิลชาร์ป (Double Sharp)     เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1 ขั้น
4. ดับเบิลแฟล็ต (Double Flat)    เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1 ขั้น
5. เนเจอรัล (Natural)        กำหนดให้ตัวโน้ตกลับสู่ระดับเสียงปกติ
 
การบันทึกเครื่องหมายแปลงเสียง ต้องบันทึกไว้ในตำแหน่งด้านซ้ายของตัวโน้ตที่ต้องการให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป