วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

เสียงประสาน


 เสียงประสาน 
        เมื่อนักร้องเพลงเพื่อชีวิตหรือดนตรีโฟล์คร้องเพลงร่วมกับการเล่นกีตาร์คลอไปด้วยตลอดทั้งเพลง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเพิ่มความลึก (depth) และ richness เข้าไปในทำนอง เราเรียกสิ่งนี้ว่า เสียงประสาน

        เสียงประสาน (Harmony) คือ องค์ประกอบของเสียงซึ่งทำให้เกิดความสมบูรณ์ ปกติทำนองเพลงเป็นการดำเนินทำนองเป็นเส้นขนานหรือแนวนอน สำหรับเสียงประสานเป็นการผสมผสานของเสียงมากกว่า 1 เสียงในแนวตั้ง การประสานเสียงเป็นองค์ประกอบที่สลับซับซ้อนมากกว่าจังหวะ การประสานเสียงที่มีลักษณะของการเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงเราเรียกว่าขั้นคู่” (intervals) แต่ถ้ามากกว่า 2 เสียงขึ้นไปเราเรียกว่า คอร์ด” (Chords)

        1 ขั้นคู่เสียง (Intervals) หมายถึงเสียง 2 เสียงที่เขียนเรียงกันในแนวตั้งและเปล่งออกมาพร้อม ๆ กัน การนับระยะห่างของเสียงเรียงตามลำดับขั้นของโน้ตในบันไดเสียง ขั้นคู่เสียงถือว่าเป็นเสียงประสานที่มีความสำคัญในการเขียนเพลง สำหรับในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงขั้นคู่เสียงเพียงเบื้องต้นเพื่อให้พอมองเห็นภาพของเสียงประสานเท่านั้น

  


ขั้นคู่เสียงขั้นที่1 C ถึง ขั้นที่ 1(C) เรียกว่า คู่ 1 Unison
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 2(D) เรียกว่า คู่ 2
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 3(E) เรียกว่า คู่ 3
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 4(F) เรียกว่า คู่ 4
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 5(G) เรียกว่า คู่ 5
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 6(A) เรียกว่า คู่ 6
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 7(B) เรียกว่า คู่ 7
ขั้นคู่เสียงขั้นที่ 1 C ถึง ขั้นที่ 8(C) เรียกว่า คู่ 8 Octave

                                                                                                        
                                                                                                     





        2 คอร์ด (Chords) หมายถึงกลุ่มเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป เรียงกันในแนวตั้งและเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน คอร์ดมีมากมายหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการใช้นำไปใช้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคอร์ด 3 ชนิด ใหญ่ ๆ รวมถึงวิธีการสร้างคอร์ด (Chord Construction) ดังนี้
1) ตรัยแอ็ด (Triad) คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยเกิดจากการนำโน้ตลำดับที่ 1st ,โน้ตลำดับที่ 3rd และโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียงมาจัดเรียงกันในแนวตั้ง




ตรัยแอ็ด (Triad) หรือคอร์ด 3 เสียง ที่สำคัญในบันไดเสียง ซี เมเจอร์ (C major) หรือบันไดเสียงเมเจอร์ทั่วไปที่มักนำมาใช้ในการบรรเลง ประกอบด้วย คอร์ดลำดับที่ 1st ,ลำดับที่ 4th และลำดับที่ 5th



2) คอร์ดที่มี 4 เสียง (Seventh chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 7th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง เช่น






3) คอร์ดที่มี 5 เสียง (Ninth chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 9th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 7th และ โน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง เช่น


                                                                           


หมายเหตุ
จากข้างต้นผู้เขียนได้นำคอร์ดที่ใช้ในการยกตัวอย่างเป็นคอร์ดที่เกิดจาก บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (C major) ทั้งสิ้น เนื่องจากง่ายต่อการจดจำ ส่วนคอร์ดที่เกิดจากบันไดเสียงเมเจอร์อื่น ๆ ก็มีโครงสร้างเช่นเดียวกัน

 

เครื่องดนตรีสากล 5 ประเภท

เครื่องดนตรีสากล 5 ประเภท
1. เครื่องดนตรีสากลประเภทสาย (String Instruments)




     เครื่อง ดนตรีประเภทเครื่องสาย สายของเครื่องดนตรีประเภทนี้มีทั้งสายที่ทำมาจากเส้นลวด เส้นเอ็น เส้นไหม ไนล่อน หรือโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาขึงให้ตึง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัสดุที่นำมาใช้ทำกะโหลกเครื่องดนตรี กะโหลกเครื่องดนตรีทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของ สาย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่นำมาใช้ในการประสมวงดนตรีมีดังนี้

ประเภทเครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส

ประเภทเครื่องดีด ได้แก่ ฮาร์พ ไลร์ ลูท แบนโจ กีต้าร์ แมนโดลิน

2. เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)



     เครื่องดนตรี ประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ

     เครื่องดนตรี แต่ละชนิดยังมีขนาดต่างๆ กันออกไป เครื่องดนตรีขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้เสียงต่ำ ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้

ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูท

ประเภทเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน

3. เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)



     เครื่อง ดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ

     เครื่องดนตรี บางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า แตรขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี

      เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลมทองเหลือง ได้แก่ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต บิวเกิล ฟลูเกิลฮอร์น เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน บาริโทน ยูโฟเนียม ทูบา ซูซาโฟน

4. เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)



      เครื่องดนตรีในยุคนี้ มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ มีลิ่มนิ้วสำหรับกด เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดนั้นนิยมเรียกว่า คีย์” (Key) เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน โดยปกติสีของคีย์เป็นขาวหรือดำ คีย์สีดำโผล่ขึ้นมากกว่าคีย์สีขาว

      การเกิดเสียง ของเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายลักษณะ เปียโน ฮาร์ปซิคอร์ด คลาวิคอร์ด เกิดเสียง โดยการกดคีย์ที่ต้องการ แล้วคีย์นั้นจะส่งแรงไปที่กลไกต่างๆ ภายในเครื่องเพื่อที่จะทำให้สายโลหะที่ขึงตึงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงให้ดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง ในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วจะมีบางเป็นบางโอกาส

     ในปัจจุบัน เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอิเล็คทรอนิกส์ ไดรับความนิยมมาก เพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกนไฟฟ้านั่นเอง มีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่ละชื่อมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสตริง (String Machine) คือ เครื่องประเภทคีย์บอร์ด ทีเลียนเสียงเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินทุกชนิด อิเล็คโทน คือ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัว สามารถบรรเลงเพลงต่างๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว

     ในยุคของ คอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมาก เสียงต่างๆ มีมากขึ้น นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟ็คต์ (Effect) ต่างๆ ให้เลือกใช้มาก เสียงต่างๆ เหล่านี้เป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยระบบ อิเล็คทรอนิกส์ ดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า ซินธีไซเซอร์” (Synthesizer)

เครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องลิ่มนิ้ว ได้แก่ เปียโน ออร์แกน ฮาร์พซิคอร์ด คลาวิคอร์ด แอคคอร์เดียน อิเลคโทน

5. เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องกระทบ (Percussion Instruments)



      เครื่อง ดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี การสั่น การเขย่า การเคาะ หรือการขูด การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำ ให้เกิดเสียง เครื่องกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุที่เป็นของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง แบ่งออกเป็น2ประเภท ได้แก่

เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments)

เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้

ไซโลโฟน ไวบราโฟน มาริมบา ระฆังราว กลองทิมปานี

ประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments)

เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด

กลองใหญ่ กลองแต๊ก ฉาบ กิ๋ง แทมบูริน เคาเบลล์ คาบาซา บองโก คองการ์ กลองชุด

 

บทบาทและอิทธิพลของดนตรีต่อมนุษย์


บทบาทและอิทธิพลของดนตรีต่อมนุษย์
      
      ดนตรีมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตกแต่งชีวิตให้วิจิตรและมีสีสัน แต่ดนตรีเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลต่อมนุษย์เป็นอย่างมากตั้งแต่สมัยโบราณกาล ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อจิตใจของมนุษย์ ดนตรีสามารถกระตุ้นจิตใจให้เกิดพลังสร้างสรรค์ เกิดความฮึกเหิม เกิดความสามัคคี หรือกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยนได้ ซึ่งสามารถอธิบายได้ถึงการเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลของดนตรีต่อมนุษย์ได้ดังนี้

      1. ดนตรีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรมศักดิสิทธิ์ทางศาสนา เช่น ในการ     ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของของชาวคริสต์ หรือการบรรเลงดนตรีเพื่อประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติของกลุ่ม     ชาติพันธุ์ต่างๆ ดนตรีเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติที่มนุษย์เคารพนับถือ ในศาสนาฮินดู ขลุ่ยถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องดนตรีแห่งองค์พระกฤษณะ เทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู และเชื่อกันว่าพระกฤษณะทรงขลุ่ยเพื่อความงอกงามของพืชพันธุ์และบันดาลให้เหล่านกกาออกมาร้องเพลง นอกจากนี้ดนตรียังเข้าไปมีบทบาทสำคัญในพิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น พิธีการบวช การแต่งงาน งานศพ เป็นต้น
 
      2. ดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยสามารถกระตุ้นจิตใจให้เกิดความฮึกเหิมขึ้นได้ เช่น การทำศึกสงครามในสมัยโบราณนั้นจะมีการประโคมแตรและกลอง ทั้งนี้เสียงแตรและเสียงกลองที่เร้าใจจะช่วยปลุกใจให้ทหารมีความฮึกเหิม และกล้าที่จะทำสงคราม ดนตรียังทำให้เกิดความสามัคคี หรือกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน เช่น การทำงานหนักหรือการทำงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เมื่อมีการร้องเพลงหรือให้จังหวะอย่างพร้อมเพรียงก็จะส่งผลให้การทำงานนั้นๆบรรลุความสำเร็จได้ ในการการกล่อมเด็กนั้น นานมาแล้วที่ผู้เป็นแม่รู้ดีว่าวิธีที่ดีที่สุดในการชักจูงเด็กเล็กๆให้นอนหลับคือ การขับกล่อมเด็กด้วยเสียงเพลงที่สงบ เยือกเย็น อ่อนโยน นอกจากนี้ดนตรียังทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยมนุษย์นำดนตรีมาบรรเลงดนตรีหลังจากการทำงานในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการฟังอย่างเพลิดเพลินมีอรรถรส ตลอดจนประกอบการละเล่นต่างๆ
   
     3. ดนตรีเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ใช้เครื่องดนตรีประเภทเคาะ เช่น ระฆังฆ้อง และกลอง เป็นสัญญาณในการสื่อสารต่าง ๆ เช่น เพื่อการป้องกันภัย เพื่อบอกเวลา หรือเพื่อส่งสัญญาณหรือแทนสื่อข้อความต่างๆ
นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ดนตรียังเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อมนุษย์อีกมากมาย มนุษย์เราใช้ดนตรีเพื่อสื่อสารอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์แห่งความรัก ความห่วงหาอาลัย ความอึดอัดกระวนกระวายใจ ความโศกเศร้าหรือความสุข ฯ จึงถือได้ว่าดนตรีกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้

 

จังหวะ (Rhythm)


จังหวะ (Rhythm)
 
จังหวะสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะสำคัญดังนี้
อัตราจังหวะ (Meter)
     
โดยทั่วไปบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนจะมีอัตราจังหวะที่ชัดเจน เช่น บทเพลงประเภทเพลงเถาในดนตรีไทยจะมี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 มีอัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 มีอัตราจังหวะ 2 ชั้น และท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 1 ชั้นหรือชั้นเดียว โดยฉิ่งจะทำหน้าที่กำกับจังหวะ อัตราจังหวะ ซึ่งผู้บรรเลงมีความจำเป็นต้องทราบถึงอัตราจังหวะเหล่านี้ หรือบทเพลงในดนตรีคลาสสิคของอินเดีย ก็จะมีอัตราจังหวะที่หลากหลาย ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกซึ่งมีการบันทึกดนตรีเป็นโน้ตดนตรีที่ชัดเจนอย่างมีระบบ ก็ได้แสดงหรือบ่งบอกอัตราจังหวะของเพลงไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน เช่น บทเพลงในลักษณะจังหวะแบบสามช่า (cha cha cha) ก็จะมีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่งหมายความว่า ในหนึ่งห้องเพลงจะมี 4 จังหวะ เป็นต้น
   
ความช้า - เร็วของจังหวะ (Tempo)
     
ดนตรีทุกชนิดในโลกจะมีความช้าเร็วของจังหวะเพลง เช่นเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นรำเพื่อความสนุกสนาน ก็อาจจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้กล่อมเด็ก ก็มีจังหวะที่ค่อนข้างช้า เป็นเรื่องของเสียงที่เคลื่อนที่ไปในช่วงเวลา ดังนั้นองค์ประกอบเรื่องเวลาจึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของดนตรี ทางดนตรีองค์ประกอบเรื่องเวลาประกอบไปด้วย ความเร็วของจังหวะ (Tempo) อัตราจังหวะ (Meter) และจังหวะ (Rhythm)
ความช้า - เร็วของจังหวะ อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะช้าหรือเร็วขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆช้าลงหรือค่อยๆเร็วขึ้น ซึ่งในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้คำศัพท์ในภาษาอิตาเลียน เช่น
 
Presto
หมายถึง เร็วที่สุด
Vivace
หมายถึง เร็วมาก
Allegro
หมายถึง เร็ว
Allegretto
หมายถึง ค่อนข้างเร็ว
Moderato
หมายถึง ปานกลาง
Andantino
หมายถึง ค่อนข้างช้า
Andante
หมายถึง ช้า
Largo
หมายถึง ช้ามาก
สำหรับในวัฒนธรรมอื่นๆมิได้มีการแสดงหรือระบุไว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร แต่ผู้บรรเลงสามารถบรรเลงโดยมีความเข้าใจร่วมกัน เช่น ในบทเพลงเถาของไทย ผู้บรรเลงจะต้องบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลง

 

 

ทำนอง (Melody)


ทำนอง (Melody)
     
ทำนองคือ การจัดเรียงของเสียงที่มีความแตกต่างกันของระดับเสียงและความยาวของเสียง โดยทั่วไปดนตรีจะประกอบไปด้วยทำนองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมากที่สุด ทำนองมีหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบของทำนองที่ควรทราบได้แก่



  



จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm)
      จังหวะของทำนองคือ ความสั้นยาวของระดับเสียงแต่ละเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนอง

มิติของทำนอง (Melodic Dimensions)
     
มิติของทำนอง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความยาวและช่วงกว้าง
ความยาว (Length) ทำนองบางครั้งอาจจะสั้นๆเป็นส่วนๆ ซึ่งส่วนที่เล็กสุดหรือสั้นที่สุดเรียกว่า โมทีฟ (Motive) บางครั้งอาจเป็นทำนองที่ยาวมากๆ
ช่วงกว้าง (Range) คือ ระยะระหว่างระดับเสียงต่ำสุดจนถึงระดับเสียงสูงสุด

ช่วงเสียงของทำนอง (Register)
     
ทำนองเพลงอาจจะอยู่ในช่วงเสียงใดช่วงเสียงหนึ่ง เช่น ในช่วงเสียงต่ำ กลาง หรือสูง บางครั้งทำนองอาจจะเคลื่อนที่จากช่วงเสียงหนึ่งไปยังอีกช่วงเสียงหนึ่งก็ได้

ทิศทางของทำนอง (Direction)
     
ทิศทางของทำนองหมายถึง การเคลื่อนที่ของทำนอง กล่าวคือทำนองอาจจะเคลื่อนที่ไปในหลายทิศทาง เช่น เคลื่อนที่ขึ้น เคลื่อนที่ลง หรืออยู่กับที่ โดยปกติทำนองมักจะเคลื่อนที่ขึ้นจุดสูงสุดเมื่อเนื้อหาของเพลงดำเนินไปถึงจุดสำคัญที่สุด ปกติการเคลื่อนที่ของทำนองอาจจะเป็นในลักษณะกระโดด (Disjunct Progression) หรือเรียงกันไป (Conjunct Progression) บทเพลงนั้นจะน่าสนใจ น่าฟัง หรือชวนฉงนสงสัย ขึ้นอยู่กับผลรวมของคุณสมบัติต่างๆของทำนอง ทำนองจัดเป็นลักษณะพื้นฐานของดนตรีหรือบทเพลง โดยทั่วไปทำนองที่เป็นหลักในบทเพลงหนึ่งจะเรียกว่าทำนองหลัก (Main Theme) ในแต่ละบทเพลงอาจจะมีทำนองหลักได้มากกว่า 1 ทำนอง

 

เสียง (Tone)

เสียง (Tone)          เป็นการยากที่จะกล่าวหรือระบุได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้อย่างแน่ชัด จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานและตั้งข้อสังเกตจากโบราณวัตถุหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานตามหลักการและเหตุผล และคำนึงถึงความเป็นไปได้มากที่สุด ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกำเนิดของดนตรีมีดังนี้
ลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นจะมีความแตกต่างไปจากเสียงที่มีความหมายว่า Noise เนื่องจากลักษณะของการเกิดเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงในความหมายว่า Noise นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ เสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการเป่า การร้อง การดีด หรือการสี จะเป็นลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone เพราะการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

เสียงประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ ระดับเสียง ความสั้นยาวของเสียง ความดังเบาของเสียง และสีสันของเสียง

ระดับเสียง (Pitch)
     
ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียงในเชิงภายภาพ หากความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดเสียงสูง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นลักษณะช้า จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หูของมนุษย์สามารถแยกเสียงตั้งแต่ระดับความถี่ของการสั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที จนถึง 20,000 ครั้ง / วินาที
ความสั้น - ยาวของเสียง (Duration)
    
เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสั้นยาวของเสียง กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินลักษณะของการลากเสียงยาวๆ หรือบางครั้งก็จะเป็นลักษณะห้วนๆสั้นๆ ความแตกต่างกันในลักษณะนี้เรียกว่า ความสั้น - ยาวของเสียง
ความดัง - เบาของเสียง (Dynamics)
     
เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความดัง - เบาของเสียงเช่นกัน กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินการบรรเลงเพลงที่มีเสียงดัง อึกทึกครึกโครม ตรงกันข้ามบางครั้งก็จะได้ยินเสียงดนตรีที่นุ่มนวล หรือแผ่วเบา ลักษณะของการเกิดเสียงแบบนี้เรียกว่า ความดัง - เบาของเสียง
ความดัง - เบาของเสียง อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเบาหรือดังขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆเบาลงหรือค่อยๆดังขึ้น ในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้อักษรย่อจากคำเต็มในภาษาอิตาเลียน ได้แก่

fff มาจากคำเต็มว่า fortississimo หมายถึง ดังที่สุด
ff มาจากคำเต็มว่า fortissimo หมายถึง ดังมาก
f มาจากคำเต็มว่า forte หมายถึง ดัง
mf มาจากคำเต็มว่า mezzo forte หมายถึง ปานกลางค่อนข้างดัง
mp มาจากคำเต็มว่า mezzo piano หมายถึง ปานกลางค่อนข้างเบา
p มาจากคำเต็มว่า piano หมายถึง เบา
pp มาจากคำเต็มว่า pianissimo หมายถึง เบามาก
ppp มาจากคำเต็มว่า pianississimo หมายถึง เบาที่สุด
      และยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงลักษณะเสียงที่ค่อยๆดังขึ้น เรียกว่า Crescendo และค่อยๆเบาลง เรียกว่า Decrescendo อีกด้วย
ในวัฒนธรรมดนตรีอื่นๆอาจจะไม่ได้มีเครื่องหมายแสดงลักษณะเสียงที่ชัดเจน แต่การบรรเลงจะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความรู้สึกเป็นตัวกำหนด
สีสันของเสียง (Tone Color)
สีสันของเสียง (Tone Color หรือ Timbre) หมายถึง ความแตกต่างของเสียงซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน ซึ่งได้แก่เสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ รวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในบทเพลงๆหนึ่ง หากขับร้องโดยผู้ชายก็จะได้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง หรือในการบรรเลงดนตรี หากเป็นการบรรเลงเดี่ยวก็จะมีความแตกต่างไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือบรรเลงโดยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน ลักษณะที่แตกต่างกันนี้เรียกว่าสีสันของเสียง
คุณสมบัติทั้ง 4 ประการของเสียงรวมกันทำให้เกิดเสียงดนตรีที่หลากหลายจนทำให้ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยสรุปเสียงดนตรีมีได้ตั้งแต่ ต่ำ - สูง สั้น - ยาว เบา - ดัง และมีเสียงที่แตกต่างกันของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ประเภทของเพลง

ประเภทของเพลง
     เชื่อว่าหลายๆคนที่มาอ่านในบลอกนี้ย่อมต้องฟังเพลงเป็นแน่
ถ้ามีคนมาบอกว่า ชีวิตเค้าไม่เคยฟังเพลงมาก่อน ดิฉันเกือบ(?)เชื่อแน่นอน
คงจะพูดได้ว่า เพลง เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว
บางคนก็ชอบเพลงเบาๆ....
บางคนก็ชอบเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกร่าเริง.....
บางคนก็ชอบเพลงหนักๆรุนแรง....
แต่ละสไตล์ของเพลงจึงถูกแตกแขนงออกไปเพื่อรองรับสไตล์ของผู้ฟังแต่ละคน......
วันนี้ดิฉันจึงมาอธิบายแต่ละรูปแบบของเพลงแต่ละแนว โดยเจาะลึกไปถึงแก่นของ Sub Culture เลยทีเดียว (จะไหวมั้ยฟระตู - -")
อย่างที่พวกเราทราบกันดีว่า เพลง นั้นถ้าแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆแล้ว ก็จะมีหลักๆคือ
     1. POP - แนวเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกร่าเริง สดใส มันจะรู้สึก ป๊อบๆ อยู่ข้างใน ซึ่งจะไม่ค่อยจำกัดเครื่องดนตรีที่ใช้ซักเท่าไหร่นัก
     2.JAZZ - แนวนี้ก็จะร่าเริงเหมือนกัน แต่ไม่ได้ร่าเริงเหมือน POP , Jazz จะค่อนไปทางร่าเริงแบบหรูหรา เครื่องดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเครื่องลม(แซ๊กโซโฟน เป็นต้น) อาจจะมีเครื่องดนตรีแบบอื่น มาเสริมก็ได้
ข้อเปรียบเทียบระหว่างร่าเริงแบบ POP กับ JAZZ คือ Pop นั้นจะร่าเริงในอิมเมจกระโดดโลดเต้น รอยยิ้มสดใส แต่ Jazz จะมีอิมเมจเป็นร่าเริงแบบ สุขุมนุ่มลึก รอยยิ้มที่ยิ้มแบบเล็กๆมีความสุข
     3.TECHNO - แนวนี้มักจะค่อนข้างได้ยินตามเทคทั้งหลาย Techno จะเป้นแนวเพลงที่ฟังแล้ว จะรู้สึกอยากลุกขึ้นไปเต้นไปดิ้น ด้วยจังหวะที่หนักแน่นของเสียงทุ้มดังๆ เครื่องดนตรีที่ใช้มักจะเป็น Sound Effect เสียส่วนใหญ่
4.HIP-HOP - Hip-Hop เองก็เน้นด้วยการทำให้คนรู้สึกอยากลุกขึ้นมาเต้นเหมือนกัน แต่จะไม่เท่า Techno เพราะ Hip-Hop ฟังแล้วเข้าถึงอารมณ์จริงๆ ก็จะแค่ขยับแขนขาตามจังหวะนิดหน่อยเท่านั้น Hip-Hop มักจะใช้ Sound Effect เป็นเครื่องดนตรี แต่สิ่งที่ Hip-Hop เน้นจริงๆคือ น้ำเสียงและการร้องของตัวนักร้องเอง ที่จะร้องเป็นจังหวะ และใช้คำที่สัมผัสกันเป็นเนื้อ
ข้อเปรียบเทียบระหว่าง TECHNO กับ HIP-HOP คือ Techno จะค่อนข้างหนักกว่า Hip-Hop และไปเน้น คนร้องเท่า Hip-Hop
     5.SOUL / R&B - Soul / R&B (Rythm & Blues) คือแนวเพลงที่เน้นที่เนื้อร้องแนว ความรักซึ้งๆ กับการเล่นกับจังหวะที่พอดีกัน ดนตรีจะค่อนข้างไปทางสดใสหน่อย แต่ยังไม่สดใสเท่ากับ Pop ส่วนด้านเครื่องดนตรีก็จะไม่ค่อยจำกัดแนว แต่มักจะใช้ Sound Effect ประกอบนิดหน่อย
     6.Ballad - เป็นอีกแนวที่เล่นที่น้ำเสียงของคนร้องกับเนื้อที่จะออกแนวรักซึ้งๆ ซึ่ง่ค่อนข้างจะซึ้งกว่า Soul/R&B ดนตรี จะใช้จังหวะที่ช้ามาก ค่อยๆเป้นค่อยๆไป (อาจจะมีเร็วบ้าง แต่ไม่เร็วมาก ซึ่ง Ballad แบบเร็วนั้นจะค่อนข้างหายากนิดนึง) อิมเมจของ Ballad คือ ผู้หญิงวัยแรกเริ่มมีความรัก เครื่องดนตรี ก็ไม่จำกัดแนวเช่นกัน และมี Sound Effect ประกอบบ้าง
ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Soul/R&B กับ Ballad คือ S/R&B จะเร็วกว่าและมีอิมเมจที่เน้นด้านความรัก ส่วน Ballad จะช้ากว่ามาก อิมเมจก็จะเป้นเด็กผู้หญิงที่มีความรักครั้งแรก
     7.ROCK - แนวนี้เป็นแนวที่แพร่หลายออกไปค่อนข้างมาก และยังมีการแตกแขนงออกเป็น Sub Culture ต่างๆ มากกว่าแนวเพลงอื่นๆ Rock จะเป็นแนวเพลงที่ฟังแล้วเร้าใจ ตื่นเต้น เท่ ร้อนแรง มีลักษณะที่เหมือนจะขยับไปขยับมาตลอดเวลา Rock ไม่จำเป็นจะต้องใช้จังหวะที่หนักหน่วงหรือเร็วๆ แต่แค่ฟังแล้วรู้สึกตื่นเต้นหรือเร้าใจก็เพียงพอแล้ว อย่างที่พวกฝรั่งเวลาทำอะไรที่ตื่นเต้นเค้าก็จะตะโกนว่า "It's Rock me!!!" (สังเกตได้จากสมัยก่อน พวกวง Queen หรือ Deep Purple ถึงแม้เค้าจะไม่ได้เล่นดนตรีที่หนักหน่วง หนำซ้ำ บางเพลงออกจะช้าด้วยซ้ำ แต่ทั้งพวกเค้าและผุ้ฟังก็บอกว่ามัน Rock)
     8.FUNK - เป็นแนวเพลงอีกแนวนึง ที่ฟังแล้วรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น แต่จุดที่ต่างจาก Rock อย่างเห็นได้ชัดคือ Funk จะออกแนวตื่นเต้นเร้าใจแบบ นิ่งๆ สุขุม ถ้าเป็นอิมเมจ ก็คงเป็นคนไส่ชุดดำ เท่ๆ นิ่งๆ เครื่องดนตรีของเพลงแนวนี้ ก็จะเน้นเครื่องดนตรีแนวหนักๆทั้งหลาย เช่น กีต้าร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า กลองชุดใหญ่ๆ
ข้อเปรียบเทียบระหว่าง FUNK กับ ROCK ก็คงอยู่ที่อิมเมจ FUNK จะออกเท่ เร้าใจแบบนิ่งๆ ส่วน ROCK ก็จะเท่า เร้าใจแบบ เคลื่อนไหวตลอดเวลา
.
.
.
ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับแนวเพลงหลักๆทั้งหลาย ซึ่งคราวหน้าผมจะมาขึ้นเกี่ยวกับ Sub Culture ละกัน