วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

How to Play "Canon in D" (Pachelbel) Piano


        How to Play "Canon in D" (Pachelbel) Piano 
               
               สำหรับใครที่ยังไม่เคยฟังเพลง Canon in D หรือใครที่เคยฟังแล้ว แต่ยังไม่รู้เลยว่ามมันเล่นยัง
ไง แบบไหน ไม่ต้องกังวลเพราะวันนี้ดิฉันได้นำทั้งวีดิโอการสอนมาแล้ว แต่ยังงไม่พอยังมีคอร์ดมาให้ทุกคนดูด้วย ยังไงๆก็ลองเล่นตามกันดูนะค่ะ.....
         


บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ (Natural Minor Scale)

บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ (Natural Minor Scale)



เมื่อรู้จักบันไดเสียงเมเจอร์ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายแล้วเราก็มารู้จักบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์กันเล๊ยยยยยยย..
บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ ประกอบขึ้นด้วยโน้ตดนตรี 8 ตัวโน้ต นำมาเรียงลำดับขั้นตามตัวอักษรในระยะขั้นคู่ 8  มีระยะห่าง 1 เสียงเต็ม และระยะห่าง 1/2 เสียง ตามโครงสร้างดังนี้
            ตัวอย่างแสดงการบันทึกโน้ตบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ 

 


ระยะห่างระหว่างโน้ตขั้นที่ 1-2,  3-4,  4-5,  6-7, และ 7-8  ห่างกัน 1 เสียงเต็ม
ระยะห่างระหว่างโน้ตขั้นที่  2-3 และ 5-6  ห่างกัน 1/2 เสียง
 
บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ ทั้งขาขึ้นและขาลงมีโครงสร้างเหมือนกัน
 
กฎการนำเสียงดนตรีมาจัดเรียงตามโครงสร้างมี 2 ประการเหมือนบันไดเสียงเมเจอร์ คือ ห้ามซ้ำเสียง และห้ามข้ามขั้น
 
ตัวอย่างแสดงการจัดลำดับเสียงดนตรีตามโครงสร้างของบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ 


  
 



 







ตัวอย่างการเขียนบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ (Natural Minor Scale)
 

บันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale)

บันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale)

บันไดเสียงเมเจอร์ ประกอบขึ้นด้วยโน้ตดนตรี 8 ตัวโน้ต นำมาเรียงลำดับขั้นตามตัวอักษรในระยะขั้นคู่ 8 โดยไม่ซ้ำตัวอักษร(ขั้นที่ 1และ 8 โน้ตชื่อเดียวกัน แต่คนละระดับเสียง)และไม่ข้ามขั้น
 
การจัดเรียงลำดับเสียงมีทั้งระยะเต็มขั้น(Whole Step) ห่างกัน 1 เสียง และระยะครึ่งขั้น (Half Step) ห่างกันครึ่งเสียง ตามรูปแบบดังนี้
 
 
 
ระยะระหว่างโน้ตขั้นที่ 1-2, 2-3, 4-5, 5-6 และ 6-7 ห่างกัน 1 เสียงเต็ม
ระยะระหว่างโน้ตขั้นที่ 3-4 และ 7-8 ห่างกัน 1/2 เสียง
โครงสร้างของเสียงในบันไดเสียงเมเจอร์ขาขึ้นกับขาลงเหมือนกัน
 
 
โน้ตขั้นที่ 1 ของบันไดเสียงเมเจอร์จะเริ่มต้นด้วยโน้ตเสียงใดก็ได้จากเสียงที่จัดเรียงแบบโครมาติกทั้งขาขึ้นและขาลง  ต่อจากนั้นจะต้องทำตามกฎคือ โน้ตตัวต่อ ๆ ไปต้องไม่ซ้ำชื่อตัวอักษร และต้องไม่ข้ามขั้น
 
 
การจัดเรียงเสียงแบบโครมาติกขาขึ้น ระยะระหว่างตัวโน้ตทั้ง 13 ขั้น ห่างครึ่งเสียงเท่ากันตลอด

 
การจัดเรียงเสียงแบบโครมาติกขาลง  ระยะระหว่างตัวโน้ตทั้ง 13 ขั้น ห่างครึ่งเสียงเท่ากันตลอด
 
 
 
แสดงการเรียงลำดับเสียงตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์ (ทางชาร์ป)
 
 
แสดงตัวอย่างการบันทึกโน้ตบันไดเสียงเมเจอร์ทางชาร์ป
 
 
 
 
 
 
 
 
แสดงการเรียงลำดับเสียงตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์ (ทางแฟล็ต)
 
 
 
แสดงตัวอย่างการบันทึกโน้ตบันไดเสียงเมเจอร์ทางแฟล็ต
 


 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 

การพลิกกลับทรัยแอด

การพลิกกลับของทรัยแอด (Triad Inversions)

เมื่อเรารู้จักกทรัยแอดแล้วต่อมาเรามารู้จักการพลิกกลับทรัยแอดกันต่อเลยค่ะ
การพลิกกลับของทรัยแอดทำได้ 3 รูปแบบ
 
  • อยู่ในตำแหน่งแบบพื้นต้น (root postion)
  • อยู่ในตำแหน่งแบบพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion)
  • อยู่ในตำแหน่งพลิกกลับครั้งที่สอง (second inversion)

 
การจะพิจารณาว่าทรัยแอดใดมีการพลิกกลับเป็นแบบใดนั้น ต้องพิจารณาจากโน้ตตัวพื้นต้น/รู้ท (root), โน้ตตัวคู่ 3(third), หรือ โน้ตตัวคู่ 5(fifth) ว่าโน้ตทั้ง 3 ตัวนี้ โน้ตตัวใดอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • ในตำแหน่งแบบพื้นต้น (root position) โน้ตที่เป็นตัวพื้นต้นหรือตัวรู้ท จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • ในตำแหน่งแบบพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion) โน้ตที่เป็นตัวขั้นคู่ 3  จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • อยู่ในตำแหน่งพลิกกลับครั้งที่สอง (second inversion) โน้ตที่เป็นตัวขั้นคู่ 5  จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด



สัญลักษณ์แสดงการพลิกกลับของคอร์ด 7 (Seventh Chord Inversion Symbols)
สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนกำกับคอร์ด 7 เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นการพลิกกลับแบบใด สัญลักษณ์นั้นจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับระยะขั้นคู่เสียงทั้งหมดที่เกิดขึ้น 

ความหมายของทรัยแอด

ความหมายของทรัยแอด (Triad)

ทรัยแอด คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยการนำเอาขั้นคู่ 3 จำนวน 2 คู่นำมาวางเรียงซ้อนกันในแนวตั้ง
ทรัยแอดมี 4 ชนิด สร้างขึ้นโดยการนำขั้นคู่ 3 เมเจอร์และขั้นคู่ 3 ไมเนอร์มาวางซ้อนกัน
               1                    2                  3                  4
  • แบบที่ 1 ขั้นคู่ 3 เมเจอร์วางซ้อนด้วยขั้นคู่ 3 ไมเนอร์
  • แบบที่ 2 ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์วางซ้อนด้วยขั้นคู่ 3 เมเจอร์
  • แบบที่ 3 ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์วางซ้อนด้วยขั้นคู่ 3 ไมเนอร์
  • แบบที่ 4 ขั้นคู่ 3 เมเจอร์วางซ้อนด้วยขั้นคู่ 3 เมเจอร์
หมายเหตุ: โน้ตที่ประกอบกันขึ้นเป็นทรัยแอดต้องวางเรียงซ้อนต่อเนื่องกันไป 3 ตัวโน้ตที่อยู่บนเส้น หรือ 3 ตัวโน้ตที่อยู่ในช่อง
 
 
 
ตัวอย่างการบันทึกโน้ตเรียงซ้อนกันที่ไม่เป็นไปตามหลักการของทรัยแอด  จึงถือว่าไม่ใช่ทรัยแอด
ตัวอย่างการบันทึกโน้ตในคอร์ดต่อไปนี้ถือว่าเป็นทรัยแอด เพราะว่าโน้ตทุกตัวสามารถนำมาจัดวางใหม่ให้เรียงลำดับต่อเนื่องกันไปในระยะขั้นคู่ 3 ได้

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การประจุด


โน้ตประจุด (Dotted Notes)

         การประจุด (Dot) คือการนำจุดเข้าไปเติมไว้ที่ด้านหลังของหัวตัวโน้ตหรือตัวหยุด มีผลทำให้ตัวโน้ตหรือตัวหยุดที่ถูกประจุดมีค่าความยาวเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตและตัวหยุดนั้น
การประจุด 2 จุด  ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน จุดที่ 2 มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของจุดแรก ดังภาพที่แสดงตัวอย่างต่อไปนี้



โน้ตประจุด คือโน้ตสากลที่มีความยาวเป็น 3/2 เท่าของโน้ตปกติ หรือเรียกได้ว่ามีความยาวมากขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตเดิม เขียนโดยกำกับจุดไว้ข้างๆ หัวโน้ต ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมเมื่อประจุด whole note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาว whole note+half note ซึ่งจุดนั้นมีค่าเท่ากับโน้ตตัวขาวซึ่งมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวกลม ส่วนเขบ็ตหนึ่งชั้นประจุด eighth note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นบวกโน้ตเขบ็ตสองชั้น eighth note+sixteenth note เป็นต้น นอกจากตัวโน้ตแล้ว ตัวหยุดก็สามารถประจุดได้เช่นกันโดยใช้หลักการเดียวกันกับข้างต้น เช่น quarter rest. มีความหมายเหมือนกับ quarter rest+eighth rest เป็นอาทิ
การประจุดอาจกระทำได้มากกว่า 1 จุด โดยแต่ละจุดจะมีค่าเป็นครี่งหนึ่งของจุดก่อนหน้านั้น ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมประจุด 3 จุด whole note... จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาวบวกโน้ตตัวดำและบวกโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น whole note+half note+quarter note+eighth note ในทำนองเดียวกัน ตัวหยุดก็สามารถประจุดมากกว่า 1 จุดได้เช่นเดียวกัน








  1. * ถ้ามีสองจุด  จุดหลังจะมีค่าเป็นครึ่งนึงของจุดแรก *

สูตรคำนวณ

.
เมื่อ คือ ค่าของโน้ตนั้น
และ คือจำนวนจุดที่ปะ