วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพลิกกลับทรัยแอด

การพลิกกลับของทรัยแอด (Triad Inversions)

เมื่อเรารู้จักกทรัยแอดแล้วต่อมาเรามารู้จักการพลิกกลับทรัยแอดกันต่อเลยค่ะ
การพลิกกลับของทรัยแอดทำได้ 3 รูปแบบ
 
  • อยู่ในตำแหน่งแบบพื้นต้น (root postion)
  • อยู่ในตำแหน่งแบบพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion)
  • อยู่ในตำแหน่งพลิกกลับครั้งที่สอง (second inversion)

 
การจะพิจารณาว่าทรัยแอดใดมีการพลิกกลับเป็นแบบใดนั้น ต้องพิจารณาจากโน้ตตัวพื้นต้น/รู้ท (root), โน้ตตัวคู่ 3(third), หรือ โน้ตตัวคู่ 5(fifth) ว่าโน้ตทั้ง 3 ตัวนี้ โน้ตตัวใดอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • ในตำแหน่งแบบพื้นต้น (root position) โน้ตที่เป็นตัวพื้นต้นหรือตัวรู้ท จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • ในตำแหน่งแบบพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion) โน้ตที่เป็นตัวขั้นคู่ 3  จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด
  • อยู่ในตำแหน่งพลิกกลับครั้งที่สอง (second inversion) โน้ตที่เป็นตัวขั้นคู่ 5  จะอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของคอร์ด



สัญลักษณ์แสดงการพลิกกลับของคอร์ด 7 (Seventh Chord Inversion Symbols)
สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนกำกับคอร์ด 7 เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นการพลิกกลับแบบใด สัญลักษณ์นั้นจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับระยะขั้นคู่เสียงทั้งหมดที่เกิดขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น